วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว

อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว
1.             อำนาจของผู้พิพากษาคนหนึ่งในทุกชั้นศาล
มาตรา ๒๔ บัญญัติให้ผู้พิพากษาคนหนึ่ง ในทุกชั้นศาลไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษาประจำศาล หรือผู้พิพากษาอาวุโสก็ตาม ล้วนมีอำนาจตามมาตรา ๒๔(๑) และ(๒) ทั้งสิ้น
-          อำนาจตามมาตรา ๒๔(๑)
ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น
-          อำนาจตามมาตรา ๒๔(๒)
ออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ชาดข้อพิพาทแห่งคดี
2.             อำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น
ตามมาตรา ๒๕ บัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีของศาลนั้นดังต่อไปนี้
-          อำนาจตามมาตรา ๒๕(๑)
ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง
        เมื่อการไต่สวนและวินิฉัยชี้ขาดของมาตราดังกล่าวเป็นเพียงการไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอเท่านั้น  ย่อมหมายความว่ามิใช่คำสั่งที่จะมีผลเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
-          อำนาจตามมาตรา ๒๕(๒)
ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
        ป.อ. มาตรา ๓๙ บัญญัติกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้ ๕ อย่างคือ
๑.      กักกัน
๒.    ห้ามเข้าเขตที่กำหนด
๓.     เรียกประกันทัณฑ์บน
๔.     คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
๕.     ห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง
-          อำนาจตามมาตรา ๒๕(๓)
ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
-          อำนาจตามมาตรา ๒๕(๔)
พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้อง ไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินดังกล่าว อาจะขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

อ้างอิง
ธานิศ เกศวพิทักษ์. หัวใจของพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. พลสยาม พริ้นติ้ง. ๒๕๕๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น